เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
5. จักกวัตติวรรค 5. ปัญญวันตสูตร

4. ทุปปัญญสูตร
ว่าด้วยเหตุให้คนมีปัญญาทราม

[225] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ1 มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า ‘มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ’
ก็เพราะโพชฌงค์ 7 ประการที่บุคคลนั้นไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
โพชฌงค์ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ 7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ’ ก็เพราะโพชฌงค์ 7 ประการนี้
อันบุคคลนั้นไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว”

ทุปปัญญสูตรที่ 4 จบ

5. ปัญญวันตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้คนมีปัญญา

[226] ภิกษุทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘มีปัญญา
ไม่เป็นคนเซอะ มีปัญญา ไม่เป็นคนเซอะ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระองค์จึง
ตรัสว่า ‘มีปัญญา ไม่เป็นคนเซอะ’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘มีปัญญา ไม่เป็นคนเซอะ’
ก็เพราะโพชฌงค์ 7 ประการที่บุคคลนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [2. โพชฌังคสังยุต]
5. จักกวัตติวรรค 7. อทลิททสูตร

โพชฌงค์ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ 7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘มีปัญญา ไม่เป็นคนเซอะ’ ก็เพราะโพชฌงค์ 7 ประการนี้
ที่บุคคลนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ปัญญวันตสูตรที่ 5 จบ

6. ทลิททสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เป็นคนจน

[227] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘คนจน คนจน’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า ‘คนจน’ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘คนจน’ ก็เพราะโพชฌงค์ 7 ประการที่บุคคลนั้นไม่เจริญ
ไม่ทำให้มากแล้ว
โพชฌงค์ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ 7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘คนจน’ ก็เพราะโพชฌงค์ 7 ประการนี้ที่บุคคลนั้นไม่เจริญ
ไม่ทำให้มากแล้ว”

ทลิททสูตรที่ 6 จบ

7. อทลิททสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เป็นคนไม่จน

[228] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘คนไม่จน คนไม่จน’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า ‘คนไม่จน’ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :158 }